หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันหยุดยาวเสื่อมมนต์ ชาวจีน หนี “รถติด-แออัด”

ช่วงวันหยุดยาวต้นเดือนตุลาคมในประเทศจีน ซึ่งเรียกว่า “Golden Week” มีประชาชนจำนวนมากเดินทางไปท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหาผู้คนแออัดยัดเยียด โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ของจีนเอง จนเทศกาลวันชาติที่น่าจะเป็นเวลาทำเงินของธุรกิจท่องเที่ยวและความสุขแห่งครอบครัว กลายเป็นเวลาแห่งความเครียดและเหน็ดเหนื่อย
วันหยุดยาวเสื่อมมนต์ ชาวจีน หนี “รถติด-แออัด”
วันหยุดยาวเสื่อมมนต์ ชาวจีน หนี "รถติด-แออัด"
ไชน่า เดลี่ รายงานว่า สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังอย่างพระราชวังต้องห้าม พระราชวังฤดูร้อน จัตุรัสเทียนอันเหมิน คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจนผู้มาเยือนไม่สามารถชมความงดงามของสถานที่ได้ และต้องเสียเวลาไปกับการเบียดเสียดกับนักท่องเที่ยวคนอื่น ๆรวมถึงการจราจรที่ติดขัด
สถานตากอากาศบางแห่งอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก เพราะนักท่องเที่ยวจำนวนมากแห่เข้าพักพร้อม ๆ กัน ขณะที่รัฐบาลออกมาตรการจำกัดพนักงานให้บริการตามสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม
แม้ว่าแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจีนจะมีผู้มาเยือนเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แต่อานิสงส์ทางเศรษฐกิจจากช่วงวันหยุดยาวกลับต่ำกว่าที่ใคร ๆ คิด เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวที่พุ่งขึ้นในช่วงวันหยุดยาว
ไม่ได้หมายความว่ารายได้รวมตลอดทั้งปีจากการท่องเที่ยวจะสูงตามไปด้วย
วันหยุดยาวเสื่อมมนต์ ชาวจีน หนี "รถติด-แออัด"
ไคจีหมิง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและการเมืองแห่งมหาวิทยาลัยซิงหัว เผยว่าช่วง 13 ปีก่อนปี 2542 ซึ่งเริ่มกำหนดให้ต้นเดือนตุลาคมเป็นวันหยุดยาว รายได้จากการท่องเที่ยวของจีนเติบโตเฉลี่ย 28.75% ต่อปี แต่ 13 ปีหลังมี Golden Week รายได้ขยายตัวเฉลี่ยเพียง 17.91% ต่อปี “แม้ว่าวันหยุดยาวจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็มีผลกระทบ
แง่ลบต่อบางเซ็กเตอร์ อาทิ ตลาดหุ้น ตลาดซื้อขายล่วงหน้า การนำเข้าส่งออก ซึ่งมักไม่ได้รับการเหลียวแล”
นอกจากนี้ ไคชี้ว่า การบริโภคที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับรายได้ของประชาชน ไม่ใช่ช่วงวันหยุดยาว เนื่องจากคนจีนมีแนวโน้มจะลดการใช้จ่ายด้านเสื้อผ้า อาคาร ที่อยู่อาศัย และการศึกษา เพื่อกันเงินไว้สำหรับการท่องเที่ยวช่วงวันชาติ ซึ่งคนที่มีรายได้น้อยก็ยิ่งต้องกระเบียดกระเสียรมากขึ้น
และสำหรับบางคนช่วงวันหยุดยาวไม่ใช่เรื่องน่ายินดีแต่อย่างใดเพราะหลายคนต้องทำงาน 8 วันจาก 9 วันสุดท้ายก่อนถึงวันหยุดยาวประจำปี ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายแรงงานของจีนที่ระบุให้แรงงานควรมีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์
ผู้เชี่ยวชาญแนะให้ภาครัฐขยายเวลาช่วงวันหยุดยาว หรือกลับไปกำหนดให้วันแรงงานในเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงวันหยุดยาว 1 สัปดาห์อีกครั้ง เพื่อลดการไหลบ่าของนักท่องเที่ยวช่วง “Golden week” เดือนตุลาคม บางคนชี้ว่ารัฐควรให้คนทำงานมีวันพักร้อนแบบได้รับค่าจ้างแทนที่ระบบวันหยุดยาวพร้อมกันทั่วประเทศเหมือนในปัจจุบัน

ข้อมูลจาก : http://travel.mthai.com/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น